รายละเอียดเกี่ยวกับ ทรัพย์สินทางปัญญา


รัพย์สินทางปัญญาหมายถึง ทรัพย์สินไม่มีตัวอันเกิดจากผลงานความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้ครอบคลุมถึงสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร ลิขสิทธิ เครื่องหมายการค้า ความลับทางธุรกิจฯ ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของจะได้รับการคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายเมื่อได้ทำการจดทะเบียน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้อื่นลอกเลียนแบบหรือละเมิดสิทธิ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายทางธุรกิจได้ การนำระบบทรัพย์สินทางปัญญาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากการประดิษฐ์คิดค้นและความสร้างสรรค์ ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดเงินทุนในการค้นคิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆต่อไป


ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

  • สิทธิบัตร
  • ลิขสิทธิและสิทธิข้างเคียง
  • เครื่องหมายการค้า
  • การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
  • ความลับทางการค้า/ข้อมูลปกปิด

 

หลักการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา

  • การประเมินจากมูลค่าตลาด
  • การประเมินจากปัจจัยอื่น ๆ

 

วัตถุประสงค์การประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญา

  • เพื่อการคิดคำนวณและกำหนดค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิในเทคโนโลยี (Licensing, Fee, Royalty)
  • เพื่อการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
  • เพื่อการจัดทำรายงานสถานภาพทางการเงิน
  • เพื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย
  • เพื่อการวางแผนกลยุทธ์
  • เพื่อการควบโอนกิจการ
  • เพื่อการกำหนดค่าเสียหายเชิงเศรษฐกิจ จากการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

 

วิธีการประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญา

  • โดยวิธีคิดจากรายได้ (Income Approach)
  • โดยใช้วิธีเปรียบเทียบกับข้อมูลตลาด (Marketing Comparison Approach)
  • โดยวิธีคิดจากต้นทุน (Cost Approach)


ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังต่อไปนี้

  • กลุ่มที่ 1  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม  ซึ่งครอบคลุมถึง
  1. เครื่องหมายการค้าที่ใช้กับสินค้าส่วนใหญ่ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม  เครื่องหมายบริการที่ใช้กับบริการต่างๆ  ตลอดจนเครื่องหมายรับรองสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น
  2. ชื่อทางการค้า
  3. สิทธิบัตร ซึ่งแบ่งเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
  4. ความลับทางการค้า เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่ต้องให้ความคุ้มครองความลับทางการค้าจากการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
  5. การออกแบบผังภูมิวงจรรวม โดยที่แบบผังภูมิซึ่งแบ่งออกเป็นแบบแผนผังและภาพ
  6. พันธุ์พืช ตามนิยามในพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช  พ.ศ. 2542
  • กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ลิขสิทธิ์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิในการทำซ้ำ การให้ความคุ้มครองแก่งานวรรณกรรมและงานศิลปกรรมเป็นหลัก สิทธิข้างเคียง โดยที่สิทธิดังกล่าวมิใช่งานลิขสิทธิ์โดยแท้ แต่เป็นการนำเอางานที่มีลิขสิทธิ์มาสร้างขึ้น ได้แก่ สิทธิผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง สิทธิขององค์กรเผยแพร่เสียงแพร่ภาพ สิทธิของนักแสดง เป็นต้น


 

ผู้สนใจศึกษาเพิ่มเติม สามารถสั่งซื้อหนังสือ
ประมวลคำทรัพย์และอธิบายความหมายทรัพย์สินทางปัญญา ฉบับอังกฤษ - ไทย
ลด 15% จากราคาหน้าปก(รวมค่าจัดส่งเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ)
 
 
 
 
 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้